วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ปริจเฉทที่ ๒/๑

อภิธัมมาวตาร
เจตสิกนิทฺเทโส เจตสิกนิทเทส
                        ๖๗.    จิตฺตานนฺตรมุทฺทิฏฺฐา,              เย จ เจตสิกา มยา;
เตสํ ทานิ กริสฺสามิ,                 วิภาชนมิโต ปรํฯ
ตตฺถ จิตฺตสมฺปยุตฺตา, จิตฺเต ภวา วา เจตสิกา. เตปิ จิตฺตํ วิย สารมฺมณโต เอกวิธา, สวิปากาวิปากโต ทุวิธา, กุสลากุสลาพฺยากตเภทโต ติวิธา, กามาวจราทิเภทโต จตุพฺพิธา.
๖๗.  ก็เจตสิกที่ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นแสดงไว้ในลำดับแห่งจิตเหล่าใด บัดนี้ ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจักกระทำการจำแนกเจตสิกเหล่านั้น.
            ในคำว่า เจตสิกนั้น  ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับจิต หรือว่า มีในจิต ชื่อว่า เจตสิก.
เจตสิกแม้เหล่านั้น จัดว่ามีอย่างเดียว โดยเป็นธรรมชาติที่มีอารมณ์เช่นเดียวกับจิต.  มี ๒ อย่าง โดยความต่างกันแห่งเจตสิกที่มีวิบากและเจตสิกที่ไม่มีวิบาก.  มี ๓ อย่าง โดยความต่างกันแห่งชาติ คือ กุศล อกุศลและอัพยากตะ.  มี ๔ อย่าง โดยความต่างกันแห่งภูมิมีกามาวจรเป็นต้น.
******

อภิธัมมัตถวิกาสินี ฎีกาอภิธัมมาวตาร
๒. ทุติโย ปริจฺเฉโท 
 เจตสิกนิทฺเทสวณฺณนา
ปริจเฉทที่ ๒ อธิบายเจตสิกนิทเทส
๖๗. เอตฺตาวตา จ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานนฺติ เอวํ อุทฺทิฏฺเฐสุ จตูสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ ตาว ชาติภูมิสมฺปโยคปฺปวตฺตาการาทิวเสน วิภาเคน นิทฺทิสิตฺวา อิทานิ ตทนนฺตรํ อุทฺทิฏฺเฐ เจตสิกธมฺเม นิทฺทิสิตุํ ‘‘จิตฺตานนฺตรมุทฺทิฏฺฐา’’ติอาทิ อารทฺธํฯ วิภาชนนฺติ ชาติภูมิอาทิวเสน วิภาคํ, เตสุ เตสุ จิตฺเตสุ ยถารหํ สมฺปโยควเสน วิสุํ วิสุํ ภาชนญฺจฯ
๖๗ท่านอาจารย์ครั้นแสดงจิตเป็นลำดับแรกในบรรดาปรมัตถธรรม ๔ ตามที่ได้ยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้ว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน ดังนี้ โดยจำแนกเป็นชาติ ภูมิ สัมปโยคะ อาการที่เป็นไปเป็นต้น ด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงไขเจตสิกธรรมที่ได้ยกขึ้นแสดงไว้ในลำดับแห่งจิตนั้น จึงเริ่มคำมีว่า ก็เจตสิกที่ได้ยกแสดงไว้ในลำดับแห่งจิตนั้น ดังนี้เป็นต้นไว้. คำว่า การจำแนก ได้แก่ จำแนกไว้เกี่ยวกับชาติและภูมิเป็นต้น, และจำแนกเป็นแต่ละอย่างๆ เกี่ยวกับการประกอบได้ในจิตนั้นๆ ตามสมควร.

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๑๑ การนับจำนวนกามาวจรกุศลจิตโดยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐.

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๑๑  บาฬีและแปล
การนับจำนวนกามาวจรกุศลจิตโดยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐.
๒๖.
ทสปุญฺญกฺริยาทีนํ,               วเสน จ พหูนิปิ;
เอตานิ ปน จิตฺตานิ,              ภวนฺตีติ ปกาสเยฯ
๒๖.
พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศว่า ก็จิตเหล่านี้ ย่อมมีมากมายโดยเกี่ยวกับบุญกิริยา ๑๐ อย่าง เป็นต้นด้วย.

๒๗.
สตฺตรส สหสฺสานิ,                ทฺเว สตานิ อสีติ จ;
กามาวจรปุญฺญานิ,              ภวนฺตีติ วินิทฺทิเสฯ
๒๗.
ผู้เป็นอาจารย์พึงแสดงไขว่า กามาวจรกุศลจิตย่อมมีได้ ๑๗,๒๘๐ อย่าง (โดยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ทวาร ๖ อธิบดี ๔ โดยประเภท ๓ มีประเภทที่เลวเป็นต้น และโดยกรรม ๓ มีกายกรรมเป็นต้น) เถิด

ตํ ปน ยถานุรูปํ กามาวจรสุคติยํ ภวโภคสมฺปตฺติํ อภินิปฺผาเทติฯ
ก็กามาวจรกุศลจิตนั้น ย่อมให้สำเร็จภพสมบัติและโภคสมบัติ ในกามาวจรกุศลสุคติตามสมควร.


(จบกามาวจรกุศลจิต)


ครั้งที่ ๑๐ ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๑๐ บาฬีและแปล
ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

อิทานิ อสฺส ปนฏฺฐวิธสฺสาปิ กามาวจรกุสลจิตฺตสฺส อยมุปฺปตฺติกฺกโม เวทิตพฺโพฯ
บัดนี้ พึงทราบลำดับความเกิดขึ้นแห่งกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ อย่างน้ัน ดังต่อไปนี้.

ยทา หิ โย เทยฺยธมฺมปฺปฏิคฺคาหกาทิสมฺปตฺติํ, อญฺญํ วา โสมนสฺสเหตุํ อาคมฺม หฏฺฐปหฏฺโฐ ‘‘อตฺถิ ทินฺน’’นฺติ อาทินยปฺปวตฺตํ สมฺมาทิฏฺฐิํ ปุรกฺขตฺวา ปเรหิ อนุสฺสาหิโต ทานาทีนิ ปุญฺญานิ กโรติ, ตทาสฺส โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ปฐมํ มหากุสลจิตฺตํ อุปฺปชฺชติฯ
จริงอยู่ ในเวลาใด บุคคลใด อาศัยความถึงพร้อมแห่งไทยธรรม และปฏิคาหกเป็นต้น หรือเหตุแห่งโสมนัสอย่งอื่น เป็ฯผู้ร่าเริงบันเทิง กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้นไว้เป็นเบื้องหน้า ไม่ท้อแท้อยู่ ไม่ถูกผู้อื่นกระตุ้น กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ในเวลานั้น มหากุศลจิตอย่างที่หนึ่ง อันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตกับญาณ เป็นอสังขาริก ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น.

ยทา ปน วุตฺตนเยเนว หฏฺฐปหฏฺโฐ สมฺมาทิฏฺฐิํ ปุรกฺขตฺวา ปเรหิ อุสฺสาหิโต กโรติ, ตทาสฺส ตเมว จิตฺตํ สสงฺขาริกํ โหติฯ อิมสฺมิํ ปนตฺเถ สงฺขาโรติ อตฺตโน วา ปรสฺส วา ปวตฺตสฺส ปุพฺพปฺปโยคสฺสาธิวจนํฯ
ส่วนในเวลาใด บุคคลเป็นผู้ร่าเริงบันเทิงตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว กระทำสัมมาทิฏฐิไว้เป็นเบื้องหน้า ท้อแท้อยู่ ถูกผู้อื่นกระตุ้น จึงกระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น, ในเวลานั้น จิตของเขาดวงนั้นนั่นแหละเป็นสสังขาริก (เป็นมหากุศลจิตอย่างที่ ๒).  คำว่า สังขาร เป็นชื่อของบุพโยคะ (ความพยายามที่เป็นไปก่อนหน้า) ที่เป็นไปโดยเกี่ยวกับของตนหรือของคนอื่น.

ยทา ปน ญาติชนสฺส ปฏิปตฺติทสฺสเนน ชาตปริจยา พาลกา ภิกฺขู ทิสฺวา โสมนสฺสชาตา สหสา ยํ กิญฺจิ หตฺถคตํ ททนฺติ วา วนฺทนฺติ วา, ตทา เตสํ ตติยจิตฺตมุปฺปชฺชติฯ
ส่วนในเวลาใด พวกเด็กอ่อนผู้เกิดความคุ้นเคย เพราะเห็นการปฏิบัติของชนผู้เป็นญาติ เห็นภิกษุทั้งหลายแล้วเกิดโสมนัส ถวายของบางอย่าง ที่มีอยู่ในมือไปโดยเร็วบ้าง ในเวลานั้น จิตอย่างที่ ๓ ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเด็กอ่อนเหล่านั้น.

ยทา ปน เต ‘‘เทถ วนฺทถ, อยฺเย’’ติ วทนฺติ, เอวํ ญาติชเนน อุสฺสาหิตา หุตฺวา หตฺถคตํ ททนฺติ วา วนฺทนฺติ วา, ตทา เตสํ จตุตฺถจิตฺตมุปฺปชฺชติฯ
ส่วนในเวลาใด ชนผู้เป็นญาติทั้งหลาย กล่าวกะพวกเด็กอ่อนเหล่านั้นว่า “พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย เจ้าจงถวาย เจ้าจงไหว้” ดังนี้ พวกเด็กอ่อน เป็นผู้ถูกชนผู้เป็นญาติกระตุ้นอย่างนี้แล้ว จึงถวายของที่อยู่ในมือบ้าง ไหว้บ้าง ในเวลานั้นจิตอย่างที่ ๔ ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเด็กอ่อนเหล่านั้น.

ยทา ปน เทยฺยธมฺมปฺปฏิคฺคาหกาทีนํ อสมฺปตฺติํ วา อญฺเญสํ วา โสมนสฺสเหตูนํ อภาวํ อาคมฺม จตูสุปิ วิกปฺเปสุ โสมนสฺสรหิตา โหนฺติ, ตทา เสสานิ จตฺตาริ อุเปกฺขาสหคตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ
ส่วนในเวลาใด บุคคลอาศัยความไม่ถึงพร้อมแห่งไทยธรรมและปฏิคาหกเป็นต้น หรือความไม่มีเหตุแห่งโสมนัสอย่างอื่น จึงเป็นผู้ปราศจากโสมนัสในวิกัิปทั้ง ๔ ในเวลานั้น จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ อย่างที่เหลือ ย่อมเกิดขึ้นฉะนี้แล.

เอวํ โสมนสฺสุเปกฺขาญาณปฺปโยคเภทโต อฏฺฐวิธํ กามาวจรกุสลจิตฺตํ เวทิตพฺพํฯ
พึงทราบกามาวจรกุศลจิต ๘ อย่าง โดยความต่างกันแห่งโสมนัส อุเบกขา ความประกอบร่วมกัน และไม่ประกอบร่วมกันกับญาณเป็นต้น ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้.


*************************


ครั้งที่ ๙ อธิบายบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๙ บาฬีและแปล
(อธิบายบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

๒๒.
คจฺฉนฺติ สงฺคหํ ทาเน,                ปตฺติทานานุโมทนา;
ตถา สีลมเย ปุญฺเญ,                 เวยฺยาวจฺจาปจายนาฯ

๒๓.
เทสนา สวนํ ทิฏฺฐิ-                    อุชุกา ภาวนามเย;
ปุน ตีเณว สมฺโภนฺติ,                ทส ปุญฺญกฺริยาปิ จฯ
๒๒-๒๓.
อนึ่ง แม้บุญกิริยา ๑๐ นี้ จะจัดว่า มี ๓ เท่านั้น ก็ได้อีก คือ ปัตติทานและอนุโมทนา ถึงการสงเคราะห์เข้าในทานมัย อย่างนั้นเหมือนกัน เวยยาวัจจะและอปจายะ ถึงการสงเคราะห์เข้าในบุญข้อศีลมัย เทสนา สวนะ ภาวะที่ตรงแห่งทิฏฐิ ถึงการสงเคราะห์เข้าในภาวนามัย.

๒๔.
สพฺพานุสฺสติปุญฺญญฺจ,              ปสํสา สรณตฺตยํ;
ยนฺติ ทิฏฺฐิชุกมฺมสฺมิํ,                 สงฺคหํ นตฺถิ สํสโยฯ
๒๔.
บุญคืออนุสติทั้งปวง การสรรเสริญสรณะทั้ง ๓ ถึงการสงเคราะห์เข้าในทิฏฐุชุกรรม ในการถึงการสงเคราะห์ได้นั้น ไม่ต้องสงสัย

๒๕.
ปุริมา มุญฺจนา เจว,                ปรา ติสฺโสปิ เจตนา;
โหติ ทานมยํ ปุญฺญํ,               เอวํ เสเสสุ ทีปเยฯ
๒๕.
ในบุญข้อทานมัย มีเจตนา ๓ คือ ปุริมเจตนา ปุญจนเจตนา และปรเจตนา ในบุญข้อที่เหลือ บัณฑิตพึงแสดงเจตนา ๓ ได้อย่างนั้นเหมือนกัน


***********************


ครั้งที่ ๘ จำแนกกามาวจรจิตโดยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ บาฬีและแปล
(จำแนกกามาวจรจิตโดยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

๒๐.
อิทํ อฏฺฐวิธํ จิตฺตํ,                       กามาวจรสญฺญิตํ;
ทสปุญฺญกฺริยวตฺถุ-                     วเสเนว ปวตฺตติฯ
๒๐.
   จิตที่ได้ชื่อว่า กามาวจร ๘ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นั่นเทียว.

๒๑.
ทานํ สีลํ ภาวนา ปตฺติทานํ,
เวยฺยาวจฺจํ เทสนา จานุโมโท;
ทิฏฺฐิชฺชุตฺตํ สํสุติจฺจาปจาโย,
เญยฺโย เอวํ ปุญฺญวตฺถุปฺปเภโทฯ
๒๑.
ทาน ศีล ภาวนา ปัตติทาน เวยยาวัจจะ เทสนา อนุโมทนา ทิฏฐุชุกัมม์ ธัมมัสวนะ และอปจายนะ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งวัตถุ คือ บุญทั้งหลาย ตามประการที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้เถิด.


***************************


ครั้งที่ ๗ กามาวจร คือ สถานที่เที่ยวไปแห่งกาลเนืองๆ และ ทำให้เกิดในภามภพ

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๗ บาฬีและแปล

(กามาวจร คือ สถานที่เที่ยวไปแห่งกาลเนืองๆ)

๑๘.
ตสฺมิํ กาเม อิทํ จิตฺตํ,               สทาวจรตีติ จ;
กามาวจรมิจฺเจวํ,                    กถิตํ กามฆาตินาฯ
          ๑๘. ก็จิตดวงนี้ ย่อมท่องเที่ยวไปตลอดกาลทุกเมื่อในกามนั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงฆ่ากามได้แล้ว จึงตรัสเรียกไว้อย่างนี้ว่า “กามาวจร”

(กามาวจร คือ จิตที่ทำให้เกิดในกามภพ)

๑๙.
ปฏิสนฺธิํ ภเว กาเม,                 อวจารยตีติ วา;
กามาวจรมิจฺเจวํ,                    ปริยาปนฺนนฺติ ตตฺร วาฯ
          ๑๙. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสเรียกไว้อย่างนี้ไว่า “กามาวจร” เพราะอรรถว่า ยังปฏิสนธิให้ท่องเที่ยวไปในกาม คือ ในกามภพ. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสเรียกไว้อย่างนี้ว่า “กามวจร” เพราะอรรถว่า นับเนื่องในกามาวจรนั้น.




ครั้งที่ ๖ กามาวจร คือ สถานที่ใช้กามเป็นเครื่องกำหนดรู้

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๖ บาฬีและแปล
(กามาวจร คือ สถานที่กำหนดด้วยกาม)
๑๖.
กาโมวจรตีเตตฺถ,                   กามาวจรสญฺญิโต;
อสฺสาภิลกฺขิตตฺตา หิ,               สสตฺถาวจโร วิยฯ
๑๖.
กามย่อมท่องเที่ยวไป ในประเทศ ๑๑ อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ประเทศ ๑๑ อย่างนี้ จึงชื่อว่า “กามาวจร” เพราะเป็นประเทศที่ถูกกำหนดหมายไว้ด้วยกามนั้น ดุจประเทศที่ชื่อว่า สสัตถาวจร (เป็นที่ท่องเที่ยวไปแห่งบุรุษผู้มีศัตรา)  ฉะนั้น.

๑๗.
สฺวายํ รูปภโว รูปํ,                  เอวํ กาโมติ สญฺญิโต;
อุตฺตรสฺส ปทสฺเสว,                 โลปํ กตฺวา อุทีริโตฯ
๑๗.

เปรียบเหมือนรูปภพ ตรัสเรียกว่า “รูป” เพราะการลบบทหลังเสีย ฉันใด กามาวจรนี้นั้น บัณฑิตก็ให้ชื่อเรียกว่า “กาม” เพราะกระทำการลบบทหลัง เสียฉันนั้น

-------


ครั้งที่ ๕ ความหมายของคำว่า กามาวจร

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๕ บาฬีและแปล
(ความหมายของคำว่า กามาวจร)
๑๒.
                           อุทฺทานโต ทุเว กามา,          กฺเลสวตฺถุวสา ปน;
กิเลโส ฉนฺทราโคว,              วตฺถุ เตภูมวฏฺฏกํฯ
๑๒.
อนึ่ง #กามมีสองอย่าง โดยสังเขป คือ กิเลสกามและวัตถุกาม, กิเลส ได้แก่ ฉันทราคะนั่นเอง, วัตถุ ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นไปกับวัฏฏะในภูมิสาม.

๑๓.
กิเลสกาโม กาเมติ,                 วตฺถุ กามียตีติ จ;
สิชฺฌติ ทุวิโธเปส,                   กาโม โว การกทฺวเยฯ
๑๓.
ก็กิเลสกาม ย่อมใคร่ (ซึ่งวัตถุ) วัตถุกาม ถูกกิเลสกามใคร่ เพราะเหตุนั้น กามทั้ง ๒ นี้จึงสำเร็จในการกทั้งสอง.

๑๔.
ยสฺมิํ ปน ปเทเส โส,                กาโมยํ ทุวิโธปิ จ;
สมฺปตฺตีนํ วเสนาว-                 จรตีติ จ โส ปนฯ
๑๕.
ปเทโส จตุปายานํ,                  ฉนฺนํ เทวานเมว จ;
มนุสฺสานํ วเสเนว,                  เอกาทสวิโธ ปนฯ
๑๔-๑๕.

ก็กามทั้ง ๒ อย่างนี้นั้น ย่อมท่องเที่ยวไป ด้วยอำนาจแห่งความถึงพร้อมในประเทศใด เพราะฉะนั้นประเทศนั้นมี ๑๑ อย่าง คือ อบาย ๔ สวรรค์ ๖ และมนุษย์ ๑ นั่นเทียว.


                                                       -------


ครั้งที่ ๔ กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๔ บาฬีและแปล
(จำแนกกุศลเป็น ๒๑ ดวง โดยประเภทแห่งภูมิ ๔)

ตตฺถ กุสลจิตฺตํ เอกวีสติวิธํ โหติ, ตยิทํ ภูมิโต จตุพฺพิธํ โหติ, กามาวจรํ, รูปาวจรํ, อรูปาวจรํ, โลกุตฺตรญฺเจติ.
ในจิต ๓ อย่างนั้น กุศลจิตมี ๒๑ อย่าง, กุศลจิตนี้นั้นมี ๔ อย่างโดยภูมิ คือ กามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตรกุศลจิต.

( #แสดงการจำแนกกามาวจรกุศลจิต)
ตตฺถ กามาวจรกุสลจิตฺตํ ภูมิโต เอกวิธํ, สวตฺถุกาวตฺถุกเภทโต ทุวิธํ, หีนมชฺฌิมปณีตเภทโต ติวิธํ, โสมนสฺสุเปกฺขาญาณปฺปโยคเภทโต อฏฺฐวิธํ โหติฯ เสยฺยถิทํ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกํ, โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกํ, อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกํ, อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกนฺติ อิทํ อฏฺฐวิธมฺปิ กามาวจรกุสลจิตฺตํ นามฯ
บรรดากุศลจิต ๔ ประเภทเหล่านั้น กามาวจรกุศลจิต
มีประเภทเดียว คือ ภูมิ,
มี ๒ ประเภทโดยแบ่งเป็น สวัตถุกะ จิตมีวัตถุ และ อวัตถุกะ ไม่มีวัตถุ
มี ๓ ประเภท #โดยแบ่งเป็นหีนะ จิตชั้นต่ำ มัชฌิมะ จิตชั้นกลาง และ ปณีตะ จิตชั้นประณีต
มี ๘ ประเภท โดยแบ่งจิตที่ประกอบกับโสมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา ปโยคะ (การกระตุ้นเตือนที่เรียกว่า สังขาร) และญาณเป็น ๘ ประเภท คือ
๑.     #จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา #ไม่มีการกระตุ้นเตือน #ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
๒.    จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา #มีการกระตุ้นเตือน ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
๓.    จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่มีการกระตุ้นเตือน #ไม่ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
๔.    จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา มีการกระตุ้นเตือน ไม่ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
๕.    #จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่มีการกระตุ้นเตือน ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
๖.     จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา มีการกระตุ้นเตือน ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
๗.    จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่มีการกระตุ้นเตือน ไม่ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
๘.    จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา มีการกระตุ้นเตือน ไม่ประกอบด้วยญาณ ดวงหนึ่ง
จิตทั้ง ๘ ดวงนี้ ก็ชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต.





**************

ครั้งที่ ๓ คาถา ๑๐ - ๑๑ คำจำกัดความของคำว่า "กุสล"

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๓ บาฬีและแปล
(แสดงความหมายของกุศลจิต)

กุสลากุสลาพฺยากตชาติเภทโต ติวิธํ
จิตมี ๓ ประเภทโดยจำแนกตามสภาพที่เหมือนกันได้ ๓ คือ กุศล อกุศล และ อัพยากตะ. 

ตตฺถ กุสลนฺติ ปเนตสฺส โก วจนตฺโถ?
๑๐.
กุจฺฉิตานํ สลนโต, กุสานํ ลวเนน วา;
กุเสน ลาตพฺพตฺตา วา, กุสลนฺติ ปวุจฺจติฯ
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คำว่า กุศล มีคำจำกัดความว่าอย่างไรบ้าง
๑๐. 
คำว่า กุศล ที่ใช้เรียกกันนี้ หมายถึง 
- ธรรมที่สร้างความหวั่นไหวให้แก่ธรรมที่น่ารังเกียจ 
- ธรรมที่ตัดอกุศลธรรมที่เรียกกันว่า กุสะ 
- ธรรมที่ถูกปัญญาที่เรียกกันว่า กุสะ ให้ดำเนินไป. 

๑๑.
เฉเก กุสลสทฺโทยํ, อาโรคฺเย อนวชฺชเก;
ทิฏฺโฐ อิฏฺฐวิปาเกปิ, อนวชฺชาทิเก อิธฯ
ตสฺมา อนวชฺชอิฏฺฐวิปากลกฺขณํ กุสลํ, อกุสลวิทฺธํสนรสํ, โวทานปจฺจุปฏฺฐานํฯ  วชฺชปฏิปกฺขตฺตา อนวชฺชลกฺขณํ วา กุสลํ, โวทานภาวรสํ, อิฏฺฐวิปากปจฺจุปฏฺฐานํ, โยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํฯ 
๑๑. 
คำว่า กุสล มีใช้ในความหมาย เฉกะ ฉลาด, อาโรคยะ ความไม่มีโรค, อนวัชชะ ธรรมไม่มีโทษ, อิฏฐวิปากะ อำนวยผลที่น่ายินดี
สำหรับที่เกี่ยวข้องกับสภาวธรรมนี้ จะใช้ในความหมายว่า อนวัชชะ ธรรมไม่มีโทษ และ อิฏฐวิปากะ อำนวยผลที่น่ายินดี.
เพราะเหตุที่คำศัพท์ว่า กุสล มีความหมายว่า กำจัดธรรมน่ารังเกียจคืออกุสล, ไม่มีโทษ และอำนวยผลที่น่ายินดี ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ฉะนั้น กุศลจึง
๑) มีธรรมไม่มีโทษซึ่งมีผลที่น่ายินดีเป็นลักษณะ **** 
๒) มีการทำลายอกุศลเป็นกิจ
๓) มีความผ่องแผ้วเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฏ)
นอกจากจะมีความไม่มีโทษและมีวิบากน่าปรารถนาเป็นลักษณะเป็นต้นแล้ว กุศล 
๑) มีความหาโทษมิได้เป็นลักษณะ เนื่องจากเป็นปฏิปกษ์ต่อธรรมมีโทษ
๒) มีความผ่องแผ้วเป็นรส 
๒) มีวิบากน่าปรารถนาเป็น ปัจจุปัฏฐาน (ผลปรากฏ)
๔) มีโยนิโสมนสิการ (ความใส่ใจไว้ถูกวิธีอันเป็นเหตุให้กุศลเกิด) เป็นปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้

**** [ข้อความนี้มีคำแปลหลายนัย นี้เป็นเพียงนัยแรกที่พระฎีกาจารย์แนะนำคำแปลไว้.]

สาวชฺชานิฏฺฐวิปากลกฺขณมกุสลํฯ 
#อกุศลมีโทษและมีวิบากไม่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ

ตทุภยวิปรีตลกฺขณมพฺยากตํ, อวิปาการหํ วาฯ
อัพยากตะนั้น  #มีอันผิดแปลกไปจากกุศลและอกุศลทั้งสองเป็นลักษณะ, อีกอย่างหนึ่ง อัพยากตะนั้น เป็นธรรมที่#ไม่ควรแก่วิบาก.

*****************
http://apidhammavataravatar.blogspot.com/


**********

ครั้งที่ ๒ คาถาที่ ๘ - ๙ แสดงความหมายของคำว่า จิต

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๒ บาฬีและแปล
(แสดงความหมายของคำว่า จิต)

๑. ปฐโม ปริจฺเฉโท
จิตฺตนิทฺเทโส
.      
จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ,                  นิพฺพานนฺติ นิรุตฺตโร;
จตุธา เทสยี ธมฺเม,               จตุสจฺจปฺปกาสโนฯ
ตตฺถ จิตฺตนฺติ วิสยวิชานนํ จิตฺตํ, ตสฺส ปน โก วจนตฺโถ? วุจฺจเต สพฺพสงฺคาหกวเสน ปน จินฺเตตีติ จิตฺตํ, อตฺตสนฺตานํ วา จิโนตีติปิ จิตฺตํฯ
ปริจเฉทที่ ๑ จิตตนิทเทส
             ๘.  
            พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงประกาศสัจจะ ๔ หาผู้เหนือกว่ามิได้ ทรงแสดงธรรมไว้ ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน.
          ในปรมัตถธรรม ๔ อย่างเหล่านั้น คำว่า จิต หมายความว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ชื่อว่า จิต. ก็จิตนั้นมีอะไรเป็นวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ? ตอบว่า ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า คิด (คือ รู้อารมณ์) โดยเกี่ยวกับนัยที่สงเคราะห์เอาจิตทุกดวง, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า สั่งสมสันดานของตน

.       
วิจิตฺตกรณา จิตฺตํ,                   อตฺตโน จิตฺตตาย วา;
ปญฺญตฺติยมฺปิ วิญฺญาเณ,         วิจิตฺเต จิตฺตกมฺมเก;
จิตฺตสมฺมุติ ทฏฺฐพฺพา,             วิญฺญาเณ อิธ วิญฺญุนาฯ
๙.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต เพราะมีการกระทำที่วิจิตร (หรือเพราะกระทำสิ่งที่วิจิตร)  อีกอย่างหนึ่ง จิต เพราะความที่ตนเองวิจิตร. วิญญูชนพึงเห็นใช้ในสมมุติว่า จิต แม้ในบัญญัติ  ในวิญญาณ  ในงานจิตรกรรมอันวิจิตร. ในอธิการนี้ พึงเห็นใช้ในวิญญาณ.

ตํ ปน สารมฺมณโต เอกวิธํ, สวิปากาวิปากโต ทุวิธํฯ ตตฺถ สวิปากํ นาม กุสลากุสลํ,
ก็จิตนั้น มีอย่างเดียวโดยเป็นธรรมชาติที่มีอารมณ์. มี ๒ อย่าง โดยเป็นจิตที่มีวิบากและไม่มีวิบาก. ในจิต ๒ อย่างนั้น กุศลจิตและอกุศลจิต ชื่อว่า จิตที่มีวิบาก. อัพยากตจิต ชื่อว่า จิตที่ไม่มีวิบาก.

กุสลากุสลาพฺยากตชาติเภทโต ติวิธํฯ

มี ๓ อย่างโดยความต่างกันแห่งชาติ คือกุศล อกุศล และอัพยากตะ.

***********


ครั้งที่ ๑ คันถารัมภกถา

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๑ บาฬีและแปล
(ข้อความเริ่มต้นคัมภีร์และการนอบน้อมพระรัตนตรัย)

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

อภิธมฺมาวตาโร
คนฺถารมฺภกถา
อภิธัมมาวตาร
กถาเริ่มพระคัมภีร์
                       
อนนฺตกรุณาปญฺญํ,                  ตถาคตมนุตฺตรํ;
วนฺทิตฺวา สิรสา พุทฺธํ,             ธมฺมํ สาธุคณมฺปิ จฯ
๑.
ข้าพเจ้าขอถวายอภิวาทพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาใครยิ่งกว่ามิได้ มีพระกรุณาและพระปัญญาหาที่สุดมิได้ และพระธรรม รวมทั้งคณะสงฆ์ ด้วยเศียรเกล้า.

.       
ปณฺฑุกมฺพลนามาย,                สิลายาตุลวิกฺกโม;
นิสินฺโน เทวราชสฺส,                 วิมเล สีตเล ตเลฯ
            ๓.       
ยํ เทวเทโว เทวานํ,                  เทวเทเวหิ ปูชิโต;
        เทเสสิ เทวโลกสฺมิํ,                  ธมฺมํ เทวปุรกฺขโตฯ
            ๓.
พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงแกล้วกล้าหาผู้เปรียบมิได้ ผู้เป็นเทพยิ่งเทพแห่งเทพทั้งหลาย อันเทพแห่งเทพทั้งหลายบูชา ทูลเชิญประทับเบื้องหน้าทวยเทพ ประทับนั่งบนศิลาอาสน์ ชื่อว่า บัณฑุกัมพล อันเย็นปราศจากมลทินของท้าวสักกเทวราช ทรงแสดงธรรมอันใดไว้ในโลก.

                       ๔.       
ตตฺถาหํ ปาฏวตฺถาย,   ภิกฺขูนํ ปิฏกุตฺตเม;
อภิธมฺมาวตารนฺตุ,       มธุรํ มติวฑฺฒนํฯ
                      ๕.       
ตาฬํ โมหกวาฏสฺส,      วิฆาฏนมนุตฺตรํ;
ภิกฺขูนํ ปวิสนฺตานํ,       อภิธมฺมมหาปุรํฯ
                       ๖.       
สุทุตฺตรํ ตรนฺตานํ,       อภิธมฺมมโหทธิํ;
สุทุตฺตรํ ตรนฺตานํ,       ตรํว มกรากรํฯ
                       ๗.                   
อาภิธมฺมิกภิกฺขูนํ,        หตฺถสารมนุตฺตรํ;
ปวกฺขามิ สมาเสน,      ตํ สุณาถ สมาหิตาฯ
๗.
เพื่อความแจ่มแจ้งในธรรมนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวอภิธัมมาวตาร อันมีความไพเราะ เป็นเครื่องทำปัญญาให้เจริญในพระอภิธรรมปิฎก แก่ภิกษุทั้งหลายซึ่งเป็นกุญแจไขทะลวงบานประตูคือโมหะ อันยอดเยี่ยม สำหรับภิกษุผู้จะเข้าไปสู่เมืองใหญ่ คือ พระอภิธรรม ผู้จะข้ามห้วงน้ำใหญ่ คือ พระอภิธรรมที่ข้ามได้แสนยาก เป็นดุจแพสำหรับบุคคลผู้จะข้ามบ่อมังกร อันข้ามได้แสนยาก ฉะนั้น เป็นคู่มืออันยอดเยี่ยมสำหรับภิกษุผู้เรียนอภิธรรม โดยย่อ.  ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น สดับอภิธัมมาวตารนั้น เถิด.

จบ กถาเริ่มพระคัมภีร์


**************