วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ปริจเฉทที่ ๒/๑

อภิธัมมาวตาร
เจตสิกนิทฺเทโส เจตสิกนิทเทส
                        ๖๗.    จิตฺตานนฺตรมุทฺทิฏฺฐา,              เย จ เจตสิกา มยา;
เตสํ ทานิ กริสฺสามิ,                 วิภาชนมิโต ปรํฯ
ตตฺถ จิตฺตสมฺปยุตฺตา, จิตฺเต ภวา วา เจตสิกา. เตปิ จิตฺตํ วิย สารมฺมณโต เอกวิธา, สวิปากาวิปากโต ทุวิธา, กุสลากุสลาพฺยากตเภทโต ติวิธา, กามาวจราทิเภทโต จตุพฺพิธา.
๖๗.  ก็เจตสิกที่ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นแสดงไว้ในลำดับแห่งจิตเหล่าใด บัดนี้ ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจักกระทำการจำแนกเจตสิกเหล่านั้น.
            ในคำว่า เจตสิกนั้น  ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับจิต หรือว่า มีในจิต ชื่อว่า เจตสิก.
เจตสิกแม้เหล่านั้น จัดว่ามีอย่างเดียว โดยเป็นธรรมชาติที่มีอารมณ์เช่นเดียวกับจิต.  มี ๒ อย่าง โดยความต่างกันแห่งเจตสิกที่มีวิบากและเจตสิกที่ไม่มีวิบาก.  มี ๓ อย่าง โดยความต่างกันแห่งชาติ คือ กุศล อกุศลและอัพยากตะ.  มี ๔ อย่าง โดยความต่างกันแห่งภูมิมีกามาวจรเป็นต้น.
******

อภิธัมมัตถวิกาสินี ฎีกาอภิธัมมาวตาร
๒. ทุติโย ปริจฺเฉโท 
 เจตสิกนิทฺเทสวณฺณนา
ปริจเฉทที่ ๒ อธิบายเจตสิกนิทเทส
๖๗. เอตฺตาวตา จ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานนฺติ เอวํ อุทฺทิฏฺเฐสุ จตูสุ ธมฺเมสุ จิตฺตํ ตาว ชาติภูมิสมฺปโยคปฺปวตฺตาการาทิวเสน วิภาเคน นิทฺทิสิตฺวา อิทานิ ตทนนฺตรํ อุทฺทิฏฺเฐ เจตสิกธมฺเม นิทฺทิสิตุํ ‘‘จิตฺตานนฺตรมุทฺทิฏฺฐา’’ติอาทิ อารทฺธํฯ วิภาชนนฺติ ชาติภูมิอาทิวเสน วิภาคํ, เตสุ เตสุ จิตฺเตสุ ยถารหํ สมฺปโยควเสน วิสุํ วิสุํ ภาชนญฺจฯ
๖๗ท่านอาจารย์ครั้นแสดงจิตเป็นลำดับแรกในบรรดาปรมัตถธรรม ๔ ตามที่ได้ยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้ว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน ดังนี้ โดยจำแนกเป็นชาติ ภูมิ สัมปโยคะ อาการที่เป็นไปเป็นต้น ด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงไขเจตสิกธรรมที่ได้ยกขึ้นแสดงไว้ในลำดับแห่งจิตนั้น จึงเริ่มคำมีว่า ก็เจตสิกที่ได้ยกแสดงไว้ในลำดับแห่งจิตนั้น ดังนี้เป็นต้นไว้. คำว่า การจำแนก ได้แก่ จำแนกไว้เกี่ยวกับชาติและภูมิเป็นต้น, และจำแนกเป็นแต่ละอย่างๆ เกี่ยวกับการประกอบได้ในจิตนั้นๆ ตามสมควร.

กตเม ปน เจตสิกา, เยสํ วิภาชนํ วุจฺจตีติ เต สห นิพฺพจเนน สรูปโต ทสฺเสตุํ ‘‘ตตฺถ จิตฺตสมฺปยุตฺตา’’ติอาทิ วุตฺตํฯ ตตฺถ ‘‘จิตฺตสมฺปยุตฺตา’’ติ อิทํ เจตสิกลกฺขณทสฺสนํฯ เตน เย จิตฺเตน สห สมฺปโยคลกฺขเณน ยุตฺตา, เตเยว เจตสิกาติ ทสฺเสติฯ กิํ ปน ตํ สมฺปโยคลกฺขณนฺติ? เอกุปฺปาทเอกนิโรธเอกวตฺถุกเอการมฺมณสงฺขาตา ปการาฯ สมํ ปกาเรหิ ยุตฺตาติ หิ สมฺปยุตฺตาฯ ตตฺถ ยทิ เอกุปฺปาทตามตฺเตเนว จ สมฺปยุตฺตตา อธิปฺเปตา, สหุปฺปตฺติกานํ รูปารูปธมฺมานํ อญฺญมญฺญสมฺปยุตฺตตา อาปชฺเชยฺยาติ เอกนิโรธ-คฺคหณํฯ เอวมฺปิ อวินิพฺโภครูปานํ อญฺญมญฺญสมฺปยุตฺตตา อาปชฺเชยฺยาติ เอกวตฺถุก-คฺคหณํฯ เอวมฺปิ ‘‘อวินิพฺโภครูเปสุ เอกํ มหาภูตํ เสสมหาภูโตปาทารูปานํ นิสฺสยปจฺจโย โหตีติ ตสฺมา ตานิ เอกวตฺถุกานีติ, จกฺขาทีนํ นิสฺสยภูตานิ วา ภูตานิ เอกํ วตฺถุ เอเตสุ นิสฺสิตนฺติ เอกวตฺถุกานี’’ติ กปฺเปนฺตสฺส เตสํ สมฺปยุตฺตตาปตฺติ สิยาติ ตนฺนิวารณตฺถํ เอการมฺมณ-คฺคหณํฯ
            ก็ เจตสิก ได้แก่ ธรรมเหล่าใดและท่านกล่าวถึงการจำแนกธรรมเหล่าใดไว้, เพราะเหตุนั้น เพื่อจะแสดงธรรมเหล่านั้นพร้อมทั้งคำวิเคราะห์โดยสภาวะ จึงกล่าวคำว่า ในคำว่า เจตสิกนั้น ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับจิต หรือว่ามีในจิต ชื่อว่า เจตสิก ดังนี้ไว้
            ในคำที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คำว่า ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับจิต นี้แสดงลักษณะแห่งเจตสิกด้วยคำนั้น ท่านอาจารย์ย่อมแสดงว่า ธรรมเหล่าใด ประกอบด้วยลักษณะคือการประกอบพร้อมกันกับจิต, ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เจตสิก ดังนี้.
ถาม ลักษณะคือการประกอบนั้น เป็นอย่างไร
            ตอบ ได้แก่ กิริยากล่าวคือการเกิดพร้อมกัน, ดับพร้อมกัน, มีวัตถุเดียวกัน,และความมีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน. เพราะ ชื่อว่า สัมปยุต (การประกอบพร้อมกัน) ก็โดยอรรถว่า ประกอบสม่ำเสมอโดยประการทั้งหลาย.
            บรรดาอาการคือการประกอบเหล่านั้น ถ้าหากว่า ท่านอาจารย์ประสงค์เอาความเป็นธรรมที่สัมปยุต โดยเหตุเพียงการเกิดพร้อมกันแล้วไซร้, รูปธรรมและนามธรรมที่มีความเกิดขึ้นพร้อมกัน ก็จะต้องเป็นธรรมที่สัมปยุตแก่กันและกัน, เพราะเหตุนั้น ท่านจึงใช้ศัพท์ว่า มีความดับไปพร้อมกัน. แม้หากใช้ศัพท์ว่า เกิดและดับพร้อมกันอย่างนี้แล้ว เมื่อนักศึกษาดำริอยู่ว่า ในอวินิพโภครูป มหาภูตรูปอย่างหนึ่ง ก็เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูปที่เหลือและอุปาทายรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ มหาภูตรูปและอุปาทายรูปนั้น ก็ชื่อว่า มีวัตถุเดียวกัน, นอกจากนี้ มหาภูตทั้งหลายอันเป็นที่อาศัยของปสาทรูปมีจักขุเป็นต้น ก็มีวัตถุที่อาศัยเดียวกันในปสาทรูปเหล่านี้ ดังนี้ แม้มหาภูตรูปและอุปาทายรูปนั้น ก็จะต้องเป็นธรรมที่สัมปยุตกัน  เพื่อจะห้ามความคิดอันนั้นเสีย จึงใช้คำว่า มีอารมณ์อันเดียวกัน.
           
            ปฏิโลมโต วา ‘‘เอการมฺมณา’’ติ วุตฺเต เอกวีถิยํ ปญฺจวิญฺญาณสมฺปฏิจฺฉนาทีนํ, นานาวีถิยํ ปรสนฺตาเน จ เอกสฺมิํ อารมฺมเณ อุปฺปชฺชมานานํ ภินฺนวตฺถุกานํ สมฺปยุตฺตตา อาปชฺเชยฺยาติ เอกวตฺถุก-คฺคหณํฯ เอวมฺปิ มรณาสนฺนวีถิยํ สมฺปฏิจฺฉนสนฺตีรณาทีนํ สมฺปยุตฺตตา อาปชฺเชยฺยาติ เอกนิโรธ-คฺคหณํฯ กิํ ปน นานุปฺปาทาปิ เอวํ ติวิธลกฺขณา โหนฺติ, อถ เอกุปฺปาทา เอวาติ วิจารณาย เอกุปฺปาทา เอว เอวํ ติวิธลกฺขณา โหนฺตีติ ทสฺสนตฺถํ ‘‘เอกุปฺปาทา’’ติ วุตฺตํฯ อิติ อิเมหิ จตูหิ สมฺปโยคลกฺขเณหิ เย จิตฺตสมฺปยุตฺตา, เต เจตสิกา นามาติ เอวํ เจตสิกลกฺขณํ ฐปิตํ โหติฯ กถํ ปเนเต เจตสิกา นามาติ อาห ‘‘จิตฺเต ภวา’’ติฯ ‘‘เจตสิ ภวา เจตสิกา’’ติ วตฺตพฺเพ จิตฺต-สทฺทสฺสปิ เจโต-สทฺเทน สห สมานตฺถตาย อตฺถมตฺตํ ทสฺเสตุํ ‘‘จิตฺเต ภวา เจตสิกา’’ติ วุตฺตํฯ
            อีกประการหนึ่ง ว่าโดยปฏิโลม  เมื่อกล่าวว่า มีอารมณ์อันเดียวกัน ดังนี้ จิตในวิถีเดียวกันมีปัญจวิญญาณจิต และสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้น  ก็ดี, จิตในวิถีต่างกันในสันดานของผู้อื่น ก็ดี ที่มีวัตถุต่างกัน ซึ่งกำลังเป็นไปในอารมณ์เดียวกัน ก็จะต้องเป็นธรรมที่สัมปยุตกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงใช้ศัพท์ว่า มีวัตถุอันเดียวกันแม้เมื่อใช้ศัพท์ว่า มีอารมณ์เดียวกันและมีวัตถุเดียวกัน อย่างนี้แล้ว จิตในมรณาสัณณวิถี มีสัมปฏิจฉันนจิตและสันตีรณจิตเป็นต้น ก็จะต้องเป็นธรรมที่สัมปยุตกัน ดังนั้น ท่านจึงใช้ศัพท์ว่า มีความดับไปพร้อมกัน. ครั้นเมื่อสอบสวนว่า แม้การไม่เกิดขึ้น ก็จะไม่มีลักษณะ ๓ ประการอย่างนี้ หรือไร, เมื่อเป็นเช่นนี้ การเกิดขึ้นพร้อมเท่านั้น จึงมีลักษณะ ๓ ประการอย่างนี้? ดังนี้ ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า มีความเกิดขึ้นพร้อมกัน ดังนี้ไว้ ก็เพื่อจะแสดงความว่า การเกิดขึ้นพร้อมกันเท่านั้น ย่อมเป็นลักษณะสามประการอย่างนี้.  เพราะเหตุนี้ ย่อมเป็นอันท่านอาจารย์วางลักษณะแห่งเจตสิกไว้อย่างนี้ ว่า ธรรมอัน สัมปยุตกับจิตด้วยลักษณะคือการประกอบ ๔  อย่างเหล่านี้ ชื่อว่า เจตสิก.

            ท่านกล่าวว่า เพราะมีในจิต ดังนี้ไว้ เพื่อจะเลี่ยงปัญหาว่า ธรรมเหล่านี้ได้ชื่อว่า เจตสิก ได้อย่างไร ดังนี้. เมื่อควรจะกล่าวว่า เจตสิ ภวา เจตสิกา ดังนี้ แต่ท่านก็กล่าวเสียว่า      จิตฺเต ภวา เจตสิกา ธรรมอันมีในจิต ชื่อว่า เจตสิก ก็เพื่อจะแสดงเพียงความหมาย     เพราะแม้ จิตต ศัพท์ มีอรรถเสมอกันกับ เจต ศัพท์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น