วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๑๐ ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๑๐ บาฬีและแปล
ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

อิทานิ อสฺส ปนฏฺฐวิธสฺสาปิ กามาวจรกุสลจิตฺตสฺส อยมุปฺปตฺติกฺกโม เวทิตพฺโพฯ
บัดนี้ พึงทราบลำดับความเกิดขึ้นแห่งกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ อย่างน้ัน ดังต่อไปนี้.

ยทา หิ โย เทยฺยธมฺมปฺปฏิคฺคาหกาทิสมฺปตฺติํ, อญฺญํ วา โสมนสฺสเหตุํ อาคมฺม หฏฺฐปหฏฺโฐ ‘‘อตฺถิ ทินฺน’’นฺติ อาทินยปฺปวตฺตํ สมฺมาทิฏฺฐิํ ปุรกฺขตฺวา ปเรหิ อนุสฺสาหิโต ทานาทีนิ ปุญฺญานิ กโรติ, ตทาสฺส โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ปฐมํ มหากุสลจิตฺตํ อุปฺปชฺชติฯ
จริงอยู่ ในเวลาใด บุคคลใด อาศัยความถึงพร้อมแห่งไทยธรรม และปฏิคาหกเป็นต้น หรือเหตุแห่งโสมนัสอย่งอื่น เป็ฯผู้ร่าเริงบันเทิง กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้นไว้เป็นเบื้องหน้า ไม่ท้อแท้อยู่ ไม่ถูกผู้อื่นกระตุ้น กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ในเวลานั้น มหากุศลจิตอย่างที่หนึ่ง อันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตกับญาณ เป็นอสังขาริก ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น.

ยทา ปน วุตฺตนเยเนว หฏฺฐปหฏฺโฐ สมฺมาทิฏฺฐิํ ปุรกฺขตฺวา ปเรหิ อุสฺสาหิโต กโรติ, ตทาสฺส ตเมว จิตฺตํ สสงฺขาริกํ โหติฯ อิมสฺมิํ ปนตฺเถ สงฺขาโรติ อตฺตโน วา ปรสฺส วา ปวตฺตสฺส ปุพฺพปฺปโยคสฺสาธิวจนํฯ
ส่วนในเวลาใด บุคคลเป็นผู้ร่าเริงบันเทิงตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว กระทำสัมมาทิฏฐิไว้เป็นเบื้องหน้า ท้อแท้อยู่ ถูกผู้อื่นกระตุ้น จึงกระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น, ในเวลานั้น จิตของเขาดวงนั้นนั่นแหละเป็นสสังขาริก (เป็นมหากุศลจิตอย่างที่ ๒).  คำว่า สังขาร เป็นชื่อของบุพโยคะ (ความพยายามที่เป็นไปก่อนหน้า) ที่เป็นไปโดยเกี่ยวกับของตนหรือของคนอื่น.

ยทา ปน ญาติชนสฺส ปฏิปตฺติทสฺสเนน ชาตปริจยา พาลกา ภิกฺขู ทิสฺวา โสมนสฺสชาตา สหสา ยํ กิญฺจิ หตฺถคตํ ททนฺติ วา วนฺทนฺติ วา, ตทา เตสํ ตติยจิตฺตมุปฺปชฺชติฯ
ส่วนในเวลาใด พวกเด็กอ่อนผู้เกิดความคุ้นเคย เพราะเห็นการปฏิบัติของชนผู้เป็นญาติ เห็นภิกษุทั้งหลายแล้วเกิดโสมนัส ถวายของบางอย่าง ที่มีอยู่ในมือไปโดยเร็วบ้าง ในเวลานั้น จิตอย่างที่ ๓ ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเด็กอ่อนเหล่านั้น.

ยทา ปน เต ‘‘เทถ วนฺทถ, อยฺเย’’ติ วทนฺติ, เอวํ ญาติชเนน อุสฺสาหิตา หุตฺวา หตฺถคตํ ททนฺติ วา วนฺทนฺติ วา, ตทา เตสํ จตุตฺถจิตฺตมุปฺปชฺชติฯ
ส่วนในเวลาใด ชนผู้เป็นญาติทั้งหลาย กล่าวกะพวกเด็กอ่อนเหล่านั้นว่า “พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย เจ้าจงถวาย เจ้าจงไหว้” ดังนี้ พวกเด็กอ่อน เป็นผู้ถูกชนผู้เป็นญาติกระตุ้นอย่างนี้แล้ว จึงถวายของที่อยู่ในมือบ้าง ไหว้บ้าง ในเวลานั้นจิตอย่างที่ ๔ ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเด็กอ่อนเหล่านั้น.

ยทา ปน เทยฺยธมฺมปฺปฏิคฺคาหกาทีนํ อสมฺปตฺติํ วา อญฺเญสํ วา โสมนสฺสเหตูนํ อภาวํ อาคมฺม จตูสุปิ วิกปฺเปสุ โสมนสฺสรหิตา โหนฺติ, ตทา เสสานิ จตฺตาริ อุเปกฺขาสหคตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ
ส่วนในเวลาใด บุคคลอาศัยความไม่ถึงพร้อมแห่งไทยธรรมและปฏิคาหกเป็นต้น หรือความไม่มีเหตุแห่งโสมนัสอย่างอื่น จึงเป็นผู้ปราศจากโสมนัสในวิกัิปทั้ง ๔ ในเวลานั้น จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ อย่างที่เหลือ ย่อมเกิดขึ้นฉะนี้แล.

เอวํ โสมนสฺสุเปกฺขาญาณปฺปโยคเภทโต อฏฺฐวิธํ กามาวจรกุสลจิตฺตํ เวทิตพฺพํฯ
พึงทราบกามาวจรกุศลจิต ๘ อย่าง โดยความต่างกันแห่งโสมนัส อุเบกขา ความประกอบร่วมกัน และไม่ประกอบร่วมกันกับญาณเป็นต้น ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้.


*************************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น