วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๒ คาถาที่ ๘ - ๙ แสดงความหมายของคำว่า จิต

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๒ บาฬีและแปล
(แสดงความหมายของคำว่า จิต)

๑. ปฐโม ปริจฺเฉโท
จิตฺตนิทฺเทโส
.      
จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ,                  นิพฺพานนฺติ นิรุตฺตโร;
จตุธา เทสยี ธมฺเม,               จตุสจฺจปฺปกาสโนฯ
ตตฺถ จิตฺตนฺติ วิสยวิชานนํ จิตฺตํ, ตสฺส ปน โก วจนตฺโถ? วุจฺจเต สพฺพสงฺคาหกวเสน ปน จินฺเตตีติ จิตฺตํ, อตฺตสนฺตานํ วา จิโนตีติปิ จิตฺตํฯ
ปริจเฉทที่ ๑ จิตตนิทเทส
             ๘.  
            พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงประกาศสัจจะ ๔ หาผู้เหนือกว่ามิได้ ทรงแสดงธรรมไว้ ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน.
          ในปรมัตถธรรม ๔ อย่างเหล่านั้น คำว่า จิต หมายความว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ชื่อว่า จิต. ก็จิตนั้นมีอะไรเป็นวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ? ตอบว่า ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า คิด (คือ รู้อารมณ์) โดยเกี่ยวกับนัยที่สงเคราะห์เอาจิตทุกดวง, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า สั่งสมสันดานของตน

.       
วิจิตฺตกรณา จิตฺตํ,                   อตฺตโน จิตฺตตาย วา;
ปญฺญตฺติยมฺปิ วิญฺญาเณ,         วิจิตฺเต จิตฺตกมฺมเก;
จิตฺตสมฺมุติ ทฏฺฐพฺพา,             วิญฺญาเณ อิธ วิญฺญุนาฯ
๙.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต เพราะมีการกระทำที่วิจิตร (หรือเพราะกระทำสิ่งที่วิจิตร)  อีกอย่างหนึ่ง จิต เพราะความที่ตนเองวิจิตร. วิญญูชนพึงเห็นใช้ในสมมุติว่า จิต แม้ในบัญญัติ  ในวิญญาณ  ในงานจิตรกรรมอันวิจิตร. ในอธิการนี้ พึงเห็นใช้ในวิญญาณ.

ตํ ปน สารมฺมณโต เอกวิธํ, สวิปากาวิปากโต ทุวิธํฯ ตตฺถ สวิปากํ นาม กุสลากุสลํ,
ก็จิตนั้น มีอย่างเดียวโดยเป็นธรรมชาติที่มีอารมณ์. มี ๒ อย่าง โดยเป็นจิตที่มีวิบากและไม่มีวิบาก. ในจิต ๒ อย่างนั้น กุศลจิตและอกุศลจิต ชื่อว่า จิตที่มีวิบาก. อัพยากตจิต ชื่อว่า จิตที่ไม่มีวิบาก.

กุสลากุสลาพฺยากตชาติเภทโต ติวิธํฯ

มี ๓ อย่างโดยความต่างกันแห่งชาติ คือกุศล อกุศล และอัพยากตะ.

***********


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น